ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย (ไตรภูมิพระร่วง)


ไตรภูมิพระร่วง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

         ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถาหรือเตมูมิกถามาเปลี่ยนเป็นไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 2455 ฉบับที่นำมาพิมพ์เป็นฉบับที่ได้มาจากการจารในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหาช่วยวัดปากน้ำ สมุทรปราการเมื่อ พ.ศ. 2321
ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาลิไท
เวลาที่แต่ง ราว พ.ศ. 1890-1919
ทำนองแต่ง ร้อยแก้ว
ความมุ่งหมาย       เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา
                             สั่งสอนประชาชน
เนื้อเรื่อง กล่าวถึงเรื่องในไตรภูมิพระร่วง คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนที่สัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิเหล่านี้
          กามภูมิ แบ่งเป็น 11 ชั้น คือ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ ติรัจฉานภูมิ มนุษยภูมิ จาตุมหาราชิก ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรมินมิตวัสวัตตี
          รูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมมี 16 ชั้น
          อรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่าง มีแต่สัญลักษณ์ 4 ชั้น
คุณค่า          1. ด้านอักษรศาสตร์ ภาษาที่ใช้ในไตรภูมิพระร่วง เป็นภาษาเก่าจึงอาจใช้เป็นเครื่องมือในการสอบสวนภาษาได้ เป็นต้นเค้าที่หนังสือในสมัยหลังกล่าวถึงช่วยให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ในวรรณคดีได้ดีขึ้น เช่น สัตว์ในวรรณคดี ครุฑ นาค ราชสีห์ สวรรค์ชั้นต่างๆ เป็นต้น หนังสือที่กล่าวถึงเรื่องราวเหล่านี้ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ กากีคำกลอน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นหนังสือเล่มแรกในวรรณคดีไทยที่เรียบเรียงขึ้นด้วยลักษณะค้นคว้าโดยสมบูรณ์ แจ้งที่มาของหนังสือที่ค้นนั้นด้วย
          2. ด้านศาสนา ในเรื่องนี้สอนให้คนรู้จักบาปบุญ โดยการพรรณนานรกอย่างละเอียดลออว่าใครทำผิดอย่างไรต้องตกนรกขุมไหน ถ้าใครทำดีได้ขึ้นสวรรค์ซึ่งพรรณนาไว้อย่างงดงาม เป็นเครื่องล่อผู้อ่านในสมัยนั้น
ตัวอย่าง ตอนพรรณนาเปรต
          เปรตลางจำพวกตัวเขาใหญ่ปากเขาน้อยเท่ารูเข็มนั้นก็มีๆ เปรตลางจำพวกผอมนักหนาเพื่ออาหารจะกินบมิได้ แม้นว่าจะขอดเอเนื้อน้อย 1 ก็ดี เลือดหยด 1 ก็ดี บมิได้เลย เท่าว่ามีแต่กระดูกแลหนังพอกกระดูกภายนอกอยู่ไส้ หนังท้องนั้นเหี่ยวติดกระดูกสันหลัง แลตานั้นลึกและกลวงดังแส้งควักเสีย ผมเขานั้นยุ่งรุ่ยร่ายลงมาปกปากเขา มาตรว่าผ้าร้ายน้อย 1 ก็ดี แลจะมีปกกายเขานั้นก็หาบมิได้เลย เทียรย่อมเปลือยอยู่ชั่วตน
          ตอนพรรณนาสวรรค์ชั้นดุสิต
          ชั้นอันชื่อดุสิตสวรรค์นั้นๆ มีปราสาทแก้ว ปราสาทเงิน และปราสาททองเป็นวิมาน แลมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยกว้างโดยสูง โดยงามนั้นยิ่งกว่าปราสาททอง เทพยดาทั้งหลายอันอยู่ชั้นยามานั้น แลมีบรรณาการทุกสิ่ง คือ สระแลสวนดุจกับชั้นฟ้าทั้งหลายแลฯ อันว่าเทพยดาอันเป็นพระญาแก่เทพยดาทั้งหลายในชั้นนั้นแลธชื่อพระโพธิสัตว์เจ้าผู้สร้างสมภารอันจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไส้ เทียรย่อมสถิตในชั้นฟ้านั้นแลฯ บัดนี้พระศรีอริยเมไตรเจ้าผู้จะได้ได้ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าภายหน้าในภัททกัลป์นี้ ก็เสร็จสถิตในที่นั้นแล ย่อมตรัสเทศนาธรรมให้เทพยดาทั้งหลายฟังอยู่ทุกเมื่อบมิขาดแลฯ
        



ขอบคุณขอมูลดีๆจาก Youtube: Triphummikata 



  ที่มา: วรรณคดีและประวัติวรรณคดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโทัย (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง)

มัทนะพาธา ตำนานรักดอกกุหลาบ