นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์


นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

            
         หนังสือเล่มนี้มีปัญหาเรื่องผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพราะจากในเนื้อเรื่อง กล่าวว่านพมาศ สนมเอกพระร่วงเจ้าเป็นผู้แต่ง แต่ถ้าอ่านในเนื้อเรื่องที่กล่าวถึงชนชาติอเมริกากัน ปืนใหญ่แสดงว่าแต่งหลังยุคสุโขทัย หรือพิจารณาจากสำนวนภาษาจะพบว่าใหม่กว่าสมัยสุโขทัยมาก และยังมีบทกลอนซึ่งเป็นคำประพันธ์ยุคหลังแทรก



ผู้แต่ง เวลาที่แต่ง
1. ถ้าเชื่อว่าแต่งสมัยสุโขทัย ผู้แต่งคือนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกในสมัยนั้น และคงมีการแต่งเติมในสมัยหลังคือราว ร.2 – ร.3
2. ถ้าเชื่อว่าแต่งต้นรัตนโกสินทร์ ผู้แต่งคงเป็นพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพิธีการในยุคต้นรัตนโกสินทร์
ทำนองแต่ง  ร้อยแก้ว มีร้อยกรองเป็นกลอนขับนำแทรก
ความมุ่งหมาย
1.     เพื่อสอนขนมธรรมเนียมแก่พวกนางสนมกำนัล
2.     เพื่อสร้างวรรณกรรมเกี่ยวกับขนบประเพณี
เนื้อเรื่อง กล่าวถึงชีวประวัติของนางนพมาศ ประวัติศาสตร์ชนชาติต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับลัทธิพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมนางสนมในราชสำนัก และพิธีต่างๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำในรอบ 1 ปี

คุณค่า
1.ให้ความรู้ด้านประเพณีในสมัยสุโขทัยบางอย่าง เช่นพิธีของพราหมณ์ว่าใน 12 เดือนนั้นมีอะไรบ้าง
2. สอนขนบธรรมเนียมสนมในราชสำนัก
3. มีวิชาการช่างสตรี เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ ทำกระทง การทำพานหมากรับแขกเมือง
4. เป็นแนวคิดในการแต่งวรรณคดีสมัยหลัง เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน นิราศเดือน เป็นต้น
ตัวอย่าง ตอนขับชมโฉมนางนพมาศ
          ดวงดอกอุทุมพร ทั่วนครหายากฉันใดไฉน
จะหาสารศรีเศวตในแดนไพร ยากจะได้ดั่งประสงค์ที่จงจินต์
จะหานางกัลป์ยาณนารีปราชญ์ ประหนึ่งอนงค์นพมาศอย่าหมายถวิล
จะหาได้ในท้องธรณิน ก็ด้วยบุญเจ้าแผ่นดินอย่างเดียวเอยฯ
            ตอนพรรณนาโคมดอกกมุท
          ครั้นถึงโคมรูปดอกกระทุมของข้าน้อย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพนะเนตรพลางทางตรัสชมว่า โคมลอยอย่างนี้งามประหลาดยังหาเคยมีไม่ เป็นโคมของผู้ใดคิดกระทำ ท้าวศรีราชศักดิ์โสภาก็กราบบังทูลว่า โคมของนางนพมาศธิดาพระศริมโหสถ ครั้นได้ทรงทราบก็ดำรัสถามข้าน้อยว่าทำโคมลอยให้แปลกประหลาดจากเยี่ยงอย่างด้วยเห็นเหตุเป็นดังฦๅ ข้าน้อยก็บังคมทูลว่าข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเป็นนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมประทุมมาลย์มีแต่จะแบ่งบานกลีบรับแสงพระอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงพระจันทร์แล้วก็ได้ชื่อว่าดอกกระมุท ข้าพระองค์จึงทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมทานที อันเป็นที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐานกับแกะรูปมยุราคณานกวิหคหงส์ประดับ และมีประทีปเปรื่องเจือด้วยไขข้อพระโคถวายในการทรงพระราชอุทิศครั้งนี้ ด้วยจะให้ถูกต้องสมกับนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระราชพิธีจองเปรียงโดยพุทธสาสน์และไสยศาสตร์


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโทัย (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง)

มัทนะพาธา ตำนานรักดอกกุหลาบ