ประวัติวรรณคดีไทย ในสมัยสุโขทัย (ศิลาจารึก)




ศิลาจารึกหลักที่ 1



ลักษณะของศิลารึกหลักที่ 1 เป็นหินชนวนสี่เหลี่ยมยอดมนสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร มีจารึกทั้งสี่ด้าน จารึกนั้นสูง 59 ซม. กว้าง 35 ซม. ด้าน 1,2 มี 35 บรรทัด ด้าน 3,4 มีด้านละ 27 บบรทัด
          เมื่อ พ.ศ. 2376 รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังไม่ได้ครองราชย์ และผนวชอยู่ในบวรพุทธศาสนา ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึก 2 หลักและแท่นหินหนึ่งแท่น อยู่ที่เนินปราสาทในพระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ซึ่งปรากฎต่อมาว่าเป็นหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง  และหลักศิลาจารึกของพระยาลิไทยส่วนแท่นหินคือพระแท่นมนังคศิลาอาสน์รัชกาลที่ 4 จึงทรงโปรดให้นำโบราณวัตถุทั้งสามมาไว้ที่วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อพระองค์ย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศ ก็ย้ายตามไป จนปัจจุบันนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
          มีชาวต่างประเทศสนใจศึกษาหลายท่าน เช่น เซอร์ยอน เบาริงชาวอังกฤษ บัสเตียน ชาวเยอรมัน และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ชาวฝรั่งเศสได้อ่านและทำคำอ่านไว้อย่างละเอียดเมื่อปี พ.ศ. 2452

ผู้แต่ง  จารึกตามพระบรมราชโองการของพ่อขุนรามคำแหง
เวลาที่แต่ง  สันนิษฐานว่าจารึก 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงราว พ.ศ. 1835  ครั้งหลังจารึกภายหลังรัชกาลนี้ เพราะถ้อยคำสำนวนเปลี่ยนไปเป็นการยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง
ความมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นหลักฐานว่าเคยมีกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย เพื่อให้ทราบถึงการปกครองบ้านเมืองในยุคนั้น
ทำนองแต่ง เป็นร้อยแก้ว มีลักษณะคล้องจอง ถ้อยคำที่ใช้เป็นภาษาไทยแท้เป็นส่วนใหญ่



เนื้อเรื่อง
1.     กล่าวถึงพระราชประวัติและพระราชจริยาวัตรบางอย่างของพ่อขุนรามคำแหง
2.   บรรยายถึงสภาพบ้านเมือง ธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ของราษฎร กฎหมายความศรัทธาในศาสนาพุทธกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์การสร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ การสร้างพระธาตุ การสร้างจารึก การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
3.     คำสดุดีพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตอันกว้างขวางของสุโขทัยยุคนั้น





ที่มา : ชำนาญ รอดเหตุภัยและคณะ: วรรณคดีและประวัติวรรณคดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโทัย (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง)

มัทนะพาธา ตำนานรักดอกกุหลาบ