บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

รูปภาพ
นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์                       หนังสือเล่มนี้มีปัญหาเรื่องผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพราะจากในเนื้อเรื่อง กล่าวว่านพมาศ สนมเอกพระร่วงเจ้าเป็นผู้แต่ง แต่ถ้าอ่านในเนื้อเรื่องที่กล่าวถึงชนชาติอเมริกากัน ปืนใหญ่แสดงว่าแต่งหลังยุคสุโขทัย หรือพิจารณาจากสำนวนภาษาจะพบว่าใหม่กว่าสมัยสุโขทัยมาก และยังมีบทกลอนซึ่งเป็นคำประพันธ์ยุคหลังแทรก ผู้แต่ง เวลาที่แต่ง 1.   ถ้าเชื่อว่าแต่งสมัยสุโขทัย ผู้แต่งคือนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกในสมัยนั้น และคงมีการแต่งเติมในสมัยหลังคือราว ร. 2 – ร. 3 2. ถ้าเชื่อว่าแต่งต้นรัตนโกสินทร์ ผู้แต่งคงเป็นพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพิธีการในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ทำนองแต่ง   ร้อยแก้ว มีร้อยกรองเป็นกลอนขับนำแทรก ความมุ่งหมาย 1.      เพื่อสอนขนมธรรมเนียมแก่พวกนางสนมกำนัล 2.      เพื่อสร้างวรรณกรรมเกี่ยวกับขนบประเพณี เนื้อเรื่อง กล่าวถึงชีวประวัติของนางนพมาศ ประวัติศาสตร์ชนชาติต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับลัทธิพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมนางสนมในราชสำนัก และพิธีต่างๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำในรอบ 1 ปี คุณค่า 1

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโทัย (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง)

ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง       ศิลาจารึกวัดมะม่วง เป็นศิลาจารึกหลักที่ค้นพบในสมัยเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ 1 ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาลิไท ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติพระมหาธรรมราชาลิไท เนื้อเรื่อง  กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยของพระมหาธรรมราชาลไท ในด้านต่างๆ รวมทั้งพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง ศาสนา คุณค่า ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ความเลื่อมใสในศาสนาของพระองค์ ความเจริญทางอักษรศาสตร์ของวรรณกรรมในสมัยนั้น ที่มา: วรรณคดีและประวัติวรรณคดี

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย (ไตรภูมิพระร่วง)

รูปภาพ
ไตรภูมิพระร่วง          ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถาหรือเตมูมิกถามาเปลี่ยนเป็นไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 2455 ฉบับที่นำมาพิมพ์เป็นฉบับที่ได้มาจากการจารในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหาช่วยวัดปากน้ำ สมุทรปราการเมื่อ พ.ศ. 2321 ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาลิไท เวลาที่แต่ง ราว พ.ศ. 1890-1919 ทำนองแต่ง ร้อยแก้ว ความมุ่งหมาย       เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา                              สั่งสอนประชาชน เนื้อเรื่อง กล่าวถึงเรื่องในไตรภูมิพระร่วง คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนที่สัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิเหล่านี้           กามภูมิ แบ่งเป็น 11 ชั้น คือ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ ติรัจฉานภูมิ มนุษยภูมิ จาตุมหาราชิก ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรมินมิตวัสวัตตี           รูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมมี 16 ชั้น           อรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่าง มีแต่สัญลักษณ์ 4 ชั้น คุณค่า          1. ด้านอักษรศาสตร์ ภาษาที่ใช้ในไตรภูมิพระร่วง เป็นภาษาเก่าจึงอาจใช้เป็นเครื่องมือในการสอบสวนภาษาได้ เป็นต้นเค้าที่หนังสือในสม

ประวัติวรรณคดีไทย ในสมัยสุโขทัย (สุภาษิตพระร่วง)

รูปภาพ
สุภาษิตพระร่วง       สุภาษิตพระร่วง เดิมเรียกว่า “ บัญญัติพระร่วง ” สันนิษฐานว่าเดิมคงมีในสมัยสุโขทัยแต่มีการแต่งเติมจนภาษาค่อนข้างใหม่ มีต้นฉบับสมบูรณ์แน่นอนในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2379 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้บูรณะวัดพระเชตุพนวิมังคลาราม มีการชำระวรรณคดีจารึกไว้ตามผนังระเบียงอุโบสถ เรื่องนี้จารึกไว้ที่ผนังด้านในพระมหาเจดีย์หลังเหนือในวัดพระเชตุพน ผู้แต่ง สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์ เวลาที่แต่ง สันนิษฐานว่าของเดิมคงแต่งในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และนักปราชญ์ในยุคหลังช่วยเสริมต่อขัดเกลาจนมายุติในสมัย ร. 5 ความมุ่งหมาย เพื่อสั่งสอนประชาชน ทำนองแต่ง ร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสี่กระทู้ 1 บท เนื้อเรื่อง เนื้อความเป็นการสั่งสอนความประพฤติด้านต่าง ๆ ของบุคคลในสังคมยุคนั้น มีสุภาษิตทั้งหมด 158 บาท ที่มา : ชำนาญ รอดเหตุภัยและคณะ : วรรณคดีและประวัติวรรณคดี

ประวัติวรรณคดีไทย ในสมัยสุโขทัย (ศิลาจารึก)

รูปภาพ
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ลักษณะของศิลารึกหลักที่ 1 เป็นหินชนวนสี่เหลี่ยมยอดมนสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร มีจารึกทั้งสี่ด้าน จารึกนั้นสูง 59 ซม. กว้าง 35 ซม. ด้าน 1,2 มี 35 บรรทัด ด้าน 3,4 มีด้านละ 27 บบรทัด           เมื่อ พ.ศ. 2376 รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังไม่ได้ครองราชย์ และผนวชอยู่ในบวรพุทธศาสนา ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึก 2 หลักและแท่นหินหนึ่งแท่น อยู่ที่เนินปราสาทในพระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ซึ่งปรากฎต่อมาว่าเป็นหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง  และหลักศิลาจารึกของพระยาลิไทยส่วนแท่นหินคือพระแท่นมนังคศิลาอาสน์รัชกาลที่ 4 จึงทรงโปรดให้นำโบราณวัตถุทั้งสามมาไว้ที่วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อพระองค์ย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศ ก็ย้ายตามไป จนปัจจุบันนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           มีชาวต่างประเทศสนใจศึกษาหลายท่าน เช่น เซอร์ยอน เบาริงชาวอังกฤษ บัสเตียน ชาวเยอรมัน และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ชาวฝรั่งเศสได้อ่านและทำคำอ่านไว้อย่างละเอียดเมื่อปี พ.ศ. 2452 ผู้แต่ง   จารึกตามพระบรมราชโองการของพ่อขุนรามคำแหง เวลาที่แต่ง   สันนิษฐานว่าจารึก 2 ครั