บทความ

มัทนะพาธา ตำนานรักดอกกุหลาบ

รูปภาพ
     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นละครพูดคำฉันท์เล่มแรกในวรรณคดีไทย แบบเหมือนนาฏวรรณคดีสันสกฤต เหมาะสำหรับอ่านยิ่งกว่าแสดงบนเวที ฉากและท้องเรื่องทั้งหมดเป็นสมัยภารตะโบราณ เนื้อเรื่องทั้งหมดทรงคิดขึ้นเอง ทรงเล่าตำนานของดอกกุหลาบตามที่ทรงคิดเอง ชื่อเรื่องมัทนะ แปลว่าความมึนเมา พาธาแปลว่า ความเจ็บไข้ความเดือดร้อนรวมแปลว่าความลุ่มหลงทำให้เกิดทุกข์หรือความรักทำให้เป็นทุกข์ ความมุ่งหมาย เพื่อสำหรับใช้อ่านและแสดงละคร ทำนองแต่ง เป็นบทละครพูดคำฉันท์ คือมีทั้งกาพย์ ฉันท์ และมีบทสนทนาแทรก กาพย์ที่ใช้ทั้งยานี ๑๑ ฉบัง ๑๖ สุรางคนางค์ ๒๘ ฉันท์มีหลายชนิด เนื้อเรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค คือภาคสวรรค์ และภาคพื้นดิน ภาคสวรรค์กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางฟ้าชื่อมัทนา แต่นางไม่ยินยอมจึงสาปให้นางลงมาเกิดเป็นดอกกุหลาบ ถึงเวลาคืนวันเพ็ญจะกลายร่างเป็นหญิงได้ครั้งหนึ่ง ถ้าเกิดความรักและแต่งงานใครจึงจะพ้นคำสาป ถ้าทนทุกข์ทรมานเพราะความรักให้อ้อนวอนสุเทษณ์จึงจะพ้นโทษ พระฤๅษีชื่อกาละทรรศิน พระกาละทรรศินเล็งญาณรู้จึงขุดไปปลูกไว้ใกล้อาศรม        ท้าวชัยเสนกษัตริย์เมืองหนึ่งเ

กฤษณา อโศกสิน สู่ศิลปินจอแก้ว

รูปภาพ
“… ดิฉันเขียนนวนิยายที่ไม่มีวันเก่าเพราะเขียนขึ้นมาจากกิเลสของมนุษย์ จึง ไม่มีวันล้าสมัย เพราะกิเลสไม่มีคำว่าหมด... ”                      เจ้าของนามปากกา “กฤษณา อโศกสิน” นักประพันธ์ระดับบรมครูของเมืองไทย โลดแล่นอยู่ในของงานประพันธ์มายาวนานกว่า 6 ทศวรรษ สร้างนวนิยายอย่างมากมายและถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายต่อหลายเรื่อง         “กฤษณา อโศกสิน” เป็นนามปากกาของนางสุกัญญา ชลศึกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เป็นคนกรุงเทพฯ เป็นบุตรคนแรกในจำนวนทั้งหมด 6 คน บิดาเคยรับราชการ เป็นนักการเมือง และทนายความ         เริ่มต้นการประพันธ์ด้วยวัยเพียง 15 ปี เป็นคนชอบอ่าน ชอบคิด ชอบฝัน ผลงานระยะแรกเป็นครั้งเป็นนักเรียน เป็นงานร้อยกรอง ภายหลังแต่งนวนิยายเรื่องสั้นและยาว มุ่งมั่นจะเป็นนักเขียน มีผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรก ' ของขวัญปีใหม่ ' ลงในหนังสือ ' ไทยใหม่วันจันทร์ ' ในนามปากกาว่า ' กัญญ์ชลา ' ประมาณปี 2489 สำหรับนามปากกา ' กฤษณา อโศกสิน ' นั้นเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2501 ด้วยผลงานนวนิยายชื่อว่า ' วิหคที่หลงทาง ' ตีพิมพ์ใน '

นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

รูปภาพ
นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์                       หนังสือเล่มนี้มีปัญหาเรื่องผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพราะจากในเนื้อเรื่อง กล่าวว่านพมาศ สนมเอกพระร่วงเจ้าเป็นผู้แต่ง แต่ถ้าอ่านในเนื้อเรื่องที่กล่าวถึงชนชาติอเมริกากัน ปืนใหญ่แสดงว่าแต่งหลังยุคสุโขทัย หรือพิจารณาจากสำนวนภาษาจะพบว่าใหม่กว่าสมัยสุโขทัยมาก และยังมีบทกลอนซึ่งเป็นคำประพันธ์ยุคหลังแทรก ผู้แต่ง เวลาที่แต่ง 1.   ถ้าเชื่อว่าแต่งสมัยสุโขทัย ผู้แต่งคือนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกในสมัยนั้น และคงมีการแต่งเติมในสมัยหลังคือราว ร. 2 – ร. 3 2. ถ้าเชื่อว่าแต่งต้นรัตนโกสินทร์ ผู้แต่งคงเป็นพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพิธีการในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ทำนองแต่ง   ร้อยแก้ว มีร้อยกรองเป็นกลอนขับนำแทรก ความมุ่งหมาย 1.      เพื่อสอนขนมธรรมเนียมแก่พวกนางสนมกำนัล 2.      เพื่อสร้างวรรณกรรมเกี่ยวกับขนบประเพณี เนื้อเรื่อง กล่าวถึงชีวประวัติของนางนพมาศ ประวัติศาสตร์ชนชาติต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับลัทธิพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมนางสนมในราชสำนัก และพิธีต่างๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำในรอบ 1 ปี คุณค่า 1

ประวัติวรรณคดีไทย สมัยสุโทัย (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง)

ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง       ศิลาจารึกวัดมะม่วง เป็นศิลาจารึกหลักที่ค้นพบในสมัยเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ 1 ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาลิไท ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติพระมหาธรรมราชาลิไท เนื้อเรื่อง  กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยของพระมหาธรรมราชาลไท ในด้านต่างๆ รวมทั้งพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง ศาสนา คุณค่า ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ความเลื่อมใสในศาสนาของพระองค์ ความเจริญทางอักษรศาสตร์ของวรรณกรรมในสมัยนั้น ที่มา: วรรณคดีและประวัติวรรณคดี